เอเอฟพี – รัฐบาลบราซิลออกมาแสดงความเสียใจในจุดยืนของตุรกีที่ได้สั่งการเรียกเอกอัคราชทูตกลับกะทันหัน หลังจากรัฐสภาบราซิลได้ลงมติแสดงการยอมรับการ “ฆ่าสังหารหมู่” ชาวอาร์มาเนียนจำนวนมากด้วยฝีมือกองกำลังออตโตมานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับอีกไม่ต่ำกว่า 20 รัฐประเทศ รวมถึงเบลเยียม และออสเตรีย
เอเอฟพีรายงานวันนี้(10)ว่า สภาสูงบราซิลได้ลงมติในวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา ร่วมกับอีกมากกว่า 20 ประเทศในแถลงการณ์ร่วมอย่างเป็นทางการ รับรู้การการะทำของตุรกีในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเรียกการสังหารหมู่ชาวอาร์เมเนียนจำนวนมากในปี 1915 จากฝีมือกองทัพออตโตมานเป็น “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”
ทั้งนี้กระทรวงต่างประเทศตุรกีได้ออกแถลงการณ์ในช่วงค่ำวันจันทร์(7)ว่า ได้ออกคำสั่งเรียกตัว ฮูเซยิน ดิริออซ(Huseyin Dirioz) เอกอัคราชทูตตุรกีประจำบราซิลกลับกรุงอังการา โดยประณามการตัดสินใจของบราซิลว่า “เป็นการบิดเบือนความจริง และยังมองข้ามกฎหมาย” ซึ่งกระทรวงต่างประเทศตุรกีได้กล่าวผ่านแถลงการณ์ว่า “การตัดสินใจทางการเมืองเช่นนี้อยู่ภายใต้การกดดันของบรรดานักล็อบบี้ของฝั่งอาร์มาเนีย ซึ่งจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงทางประวัติศาสตร์ไปได้ หรือธรรมเนียมปฎิบัติทางกฎหมายที่เคยมีมา”
และกระทรวงต่างประเทศตุรกียังแถลงเพิ่มเติมว่า ได้เรียกเอกอัคราชทูตตุรกีประจำอังการาเข้าพบในวันที่ 3 มิถุนายน เพื่อขอคำอธิบาย
ด้านรัฐบาลบราซิลได้ให้ความเห็นถึงการเรียกทูตตุรกีกลับว่า ทางรัฐบาลรู้สึกเสียใจที่เกิดเหตุขึ้น และมติสภาสูงของบราซิลไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนอย่างเป็นทางการของรัฐบาลบราซิลแต่อย่างใด
ทั้งนี้กระทรวงต่างประเทศบราซิลได้ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีว่า “รัฐบาลบราซิลรับรู้ถึงเหตุการณ์น่าสลดที่โหดร้ายของชาวอาร์มาเนียที่เกิดขึ้นในปี 1915 จริง แต่ทว่าทางรัฐบาลบราซิลไม่ได้ใช้คำ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ในแถลงการณ์รับรู้
เอเอฟพีรายงานว่า อาร์มาเนีย และชาวอาร์มาเนียนต่างยืนยันว่า ชาวอาร์มาเนียนจำนวน 1.5 ล้านคนในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกสังหารโดยกองทัพออตโตมานเพื่อ “ฆ่าล้าวเผ่าพันธุ์” เพื่อกำจัดชาวอาร์มาเนียนทั้งหมดออกจากอนาโตเลีย หรือตุรกีตะวันออกในปัจจุบัน
แต่ทว่าในเหตุการณ์เดียวกัน ทางตุรกีกลับเรียกขานเหตุการณ์นี้ว่า เป็นการสู้ป้องกันตัวเองของกองทัพออตโตมานต่อจักรวรรดิรัสเซียในความพยายามเพื่อที่จะเข้ายึดอนาโตเลียตะวันออกในช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่ 1 และทำให้ชาวเติร์กและชาวอาร์มาเนียนต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในครั้งนั้น อย่างไรก็ตามอังการาปฎิเสธอย่างรุนแรงที่จะให้มีการใข้ “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” เรียกเหตุการณ์นี้
และก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตุรกีได้สั่งเรียกเอกอัคราชทูตตุรกีประจำกรุงวาติกันกลับด่วนหลังสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงประนามการล่าสังหารในครั้งนี้ว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” และตุรกียังสั่งถอนทูตออกจากเบลเยียมและออสเตรีย หลังจาก 2 ชาตินี้ได้ร่วมรับรู้ “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ร่วมกับอีกกว่า 20 ซึ่งนำไปสู่สัปดาห์รำลึกเหตุการณ์ในวันที่ 24 เมษายน
Credit : http://manager.co.th/Around