พระกริ่งใหญ่และกริ่งน้อย ท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ ปี 2495
ถ้ากล่าวถึง วัดเทพศิรินทราวาส บรรดานักนิยมพระเครื่องต้องกล่าวถึงอมตเถราจารย์สองรูปคือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) และ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต เพราะท่านทั้งสองได้จัดสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงของวงการพระ
ในปี พ.ศ. 2495 วัดเทพศิรินทร์จัดงานพระราชเพลิงศพ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) จึงดำริจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึกแก่บรรดาผู้ที่มาร่วมงาน โดยมี หลวงภูมินาถสนิธ เป็นแม่งานสำคัญในการสร้าง และดำริหล่อพระรูปจำลองสมเด็จฯ ไว้สำหรับสักการะบูชา
วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ได้แก่
1. ขันน้ำมนต์
2. พระกริ่งสมเด็จองค์ใหญ่ และพระกริ่งสมเด็จองค์น้อย
3. เหรียญรูปจำลองสมเด็จฯ
ในการนี้ทางคณะกรรมการได้ทำการรวบรวมวัสดุมงคลเพื่อนำมาเป็นส่วนผสมในวัตถุมงคล มีดังนี้
1. ทองชนวนหล่อพระกริ่งวัดราชบพิธ
2. ชนวนหล่อพระพุทธชินราช วัดสุทัศน์
3. ชนวนหล่อพระกริ่งวัดชนะสงคราม
4. ชนวนหล่อพระกริ่งนะมงคลปัดตลอด หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
5. ชนวนหล่อพระกริ่งวัดราชาธิวาส
6. ชนวนหล่อพระกริ่งวัดบรมนิวาส
7. ชนวนหล่อพระกริ่งวัดดอน ยานนาวา
8. ชนวนหล่อพระกริ่งวัดบวรนิเวศ
9. แผ่นโลหะลงยันต์ 109 พระอาจารย์
10. แผ่นโลหะลงอักขระ 7 ตำนาน 12 ตำนาน อาทิตตปริยายสูตร และอาณัตตลักขณสูตร
11. แผ่นดวงพระชาตาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสามปาง โลหะ ทอง นาก เงิน พร้อมด้วยดวงประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน
นอกจากนี้ยังมีแผ่นโลหะยันต์ที่พระเกจิอาจารย์ยุคเก่าเมตตาลงไว้ให้ ได้แก่
1. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ 2. หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง 3. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก 4. หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา 5. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก 6. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ 7. หลวงพ่อจัน วัดนางหนู 8. เจ้าคุณพระมหาเมชังกร จังหวัดแพร่ 9. หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม 10. เจ้าคุณพระพุทธวิหาร วัดวงฆ้อง 11. เจ้าคุณพระญาณไตรโลก 12. เจ้าคุณพระวิเชียรโมลี จังหวัดกำแพงเพชร 13. พระครูโสภณฯ วัดสะพานสูง 14. พระครูจู๋ ปักษ์ใต้ 15. เจ้าคุณพระเทพสิทธิ วัดเลา 16. หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ 17. หลวงพ่อดาบเพชร วัดชนะสงคราม 18. เจ้าคุณสุวรรณมุนี จังหวัดหลวงพ่อขอด วัดตะโหนดรามัญ นนทบุรี 109. พระครูกรุณาวิหารี (หลวงพ่อเผือก) วัดกิ่งแก้ว
การจัดสร้างวัตถุมงคลในโอกาสนี้ ถ้ากล่าวในด้านวัสดุมงคลได้รวบรวมได้สมบูรณ์แบบมาจากทั่วประเทศ เมื่อจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นที่เรียกร้อย ได้หาฤกษ์ยามอันอุดม บวงสรวงเทพยดา สวดพระพุทธมนต์และสวดพุทธาภิเษก นิมนต์พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวุฒินั่งปรก ในการนี้ได้นิมนต์ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ธมฺมวิตกฺโก อธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลเป็นครั้งแรกอีกด้วย
พระกริ่งสมเด็จองค์ใหญ่ และพระกริ่งสมเด็จองค์น้อย มีรูปแบบเดียวกับพระกริ่งทั่วไป แต่พุทธลักษณะพระกริ่งสมเด็จองค์ใหญ่ มีความสูงประมาณ 3.2 ซม. ลำพระองค์จะค่อนข้างป้อมใหญ่ เพียงแต่องค์พระปฏิมาประทับบนอาสนะฐานบัวคว่ำบัวหงายแถวละ 6 กลีบ เพียงแต่ด้านหลังจะทำเป็นเนื้อนูนรูปกลีบใบโพธิ์ ตรงกลางจะเป็นตัวอุณาโลมจมลงไปในเนื้อ ส่วนพระกริ่งสมเด็จองค์น้อย จะมีขนาดเล็ก สูงประมาณ 1.2 ซม. ภายในบรรจุเม็ดกริ่งสั่นแล้วจะมีเสียงเบาๆ มีด้วยกัน 2 พิมพ์คือ พิมพ์แขนหักศอก และพิมพ์แขนโค้ง ผิวรมด้วยน้ำยาสีดำ
การปลุกเสก มีเกจิอาจารย์ปลุกเสกราวๆ 30 องค์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายนพศ 2495 เช่น หลวงปู่นาค วัดระฆัง หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อแฉ่งวัดบางพัง หลวงพ่อเส่งวัดกัลยาๆ พระอาจารย์สา วัดราชนัดดา พระครูใบฎีกาประหยัด วัดสุทัศน์ พระครูอาคมสุนทร หลวงพ่อกึ๋นวัดดอน หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อจัน วัดคลองระนง หลวงพ่อเผือกวัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อเทียมวัดกษัตราธิราช หลวงพ่อถิรวัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อช่วงวัดบางแรก หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ หลวงพ่อฑูรย์วัดโพธิ์นิมิตร ๆลๆ และที่สำคัญยิ่งคือ ท่านเจ้าคุณนร แห่งวัดเทพศิรินทร์ ได้ทำการอธิษฐานจิตอีกครั้งหนึ่ง