ว่ากันว่าประเทศที่กำลังพัฒนาทางความเจริญจะมากน้อยแค่ไหน สิ่งหนึ่งที่พอจะเป็นตัวชี้วัดได้คือ ความก้าวหน้าด้านทันตกรรม และสุขภาพ น่าสนใจว่าการพัฒนาวิธีการรักษาโรคทางทันตกรรมจึงเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่อง
แต่ละยุคสมัยยังคงมีนวัตกรรมการรักษาที่ทันสมัย และเข้ามามีบทบาทเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการวินิจฉัยโรคและช่วยเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย
สำหรับประเทศไทย ความก้าวหน้าทางด้านทันตกรรมของเรามาถึงจุดไหน “ประชาชาติธุรกิจออนไลน์” พูดคุยกับ ทันตแพทย์ วีรวัฒน์ สัตยานุรักษ์หัวหน้าศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลพญาไท 3 ซึ่งเล่าให้ฟังถึงสถานการณ์นวัตกรรมในวงการทันตกรรมไทยเวลานี้ว่า เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทางทันตกรรมในประเทศ เองมากนักจึงมีการนำนวัตกรรมด้านทันตกรรมจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศไทย เป็นระยะๆและที่สำคัญบริษัทผู้ผลิตจากต่างชาติก็ให้ความสนใจในการนำเข้า อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆมาให้ทันตแพทย์ไทยได้ทดลองและศึกษาเปรียบเทียบจึง มองว่าเป็นโอกาสดีสำหรับทันตแพทย์ที่จะได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆที่จะเป็น ประโยชน์ต่อการรักษา
“ นวัตกรรมทางทันตกรรมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยโรคและการวางแผนการ รักษาให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมากเพราะว่าการมีเครื่องมือในการรักษาที่ทัน สมัยสามารถช่วยให้การรักษารวดเร็วแม่นยำและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น”
โดยทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยเพิ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมทันตแพทย์โลก(FDIBangkok2015)เมื่อเร็วๆนี้ โดยหัวข้อในการจัดงานคือ “ทันตกรรมแห่งศตวรรษที่21”เป็นการนำนวัตกรรมทางทันตกรรมจากต่างประเทศอาทิ สหรัฐฯ เยอรมนี และเกาหลีใต้ มาร่วมเปิดตัวในงาน ซึ่งทันตแพทย์วีรวัฒน์ได้กล่าวถึงนวัตกรรมที่เป็นไฮไลต์ๆหลัก ได้แก่
1.ระบบ CBCT (cone beamcomputerized tomography) มีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่อง CT Scan ที่ใช้ทั่วไปในวงการแพทย์ ซึ่งการนำมาใช้ในงานทันตกรรมจะช่วยทำให้เห็นภาพเอกซเรย์ฟันเป็นรูปแบบสามมิติสามารถตรวจรอยร้าวของฟัน ตำแหน่งของรูเปิดรากฟัน ตำแหน่งของรอยโรคต่างๆในกระดูกขากรรไกร นับว่ามีประโยชน์กับผู้ป่วยโดยเฉพาะโรคมะเร็งในช่องปากหรือถุงน้ำในขากรรไกร นับว่าเป็นระบบที่เพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรครวมถึงช่วยในการวางแผนการรักษาได้
ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของเครื่องมือดังกล่าวคือใช้รังสีน้อยกว่าระบบการเอ็กซ์เรย์ แบบเดิมที่เป็นสองมิติสามารถลดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้
2.ระบบ CAD –CAM SYSTEM (computer – aided design and computer – aidedmanufacturing) เป็นระบบที่ใช้ในการออกแบบฟันผ่านซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์โดยจะช่วยลดขั้น ตอนหลังจากการกรอฟัน จากเดิมที่ต้องพิมพ์ปาก เทปูนสร้างแบบฟันและส่งให้ห้องแล็บ ซึ่งใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 3-7 วัน เมื่อมีระบบนี้จะช่วยลดระยะเวลาของขั้นตอนดังกล่าวทันตแพทย์สามารถสแกนแบบ ฟันของผู้ป่วยแล้วส่งข้อมูลไปยังห้องแล็บเพื่อสร้างแบบฟันได้เลยถือว่าช่วย ลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการสร้างพิมพ์ปากรวมถึงโอกาสในการทำแบบฟันผิดพลาด ก็จะน้อยลงด้วยโดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยประหยัดเวลาการรักษามีความแม่นยำ และลดการแพร่กระจายเชื้อโรค
3. ไมโครสโคป (Microscope) หรือกล้องจุลทรรศน์ อาจเรียกว่าเป็นเครื่องมือที่ไม่ใหม่ในวงการแพทย์เสียทีเดียวเพราะมีการใช้ กล้องจุลทรรศน์สำหรับโรคตา-หู มาก่อน แต่สำหรับวงการทันตกรรมนับเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งจากเดิมที่ทันตแพทย์มัก ใช้ไฟฉายและกระจกเล็กๆส่องเพื่อหาจุดเกิดโรคในช่องปากการนำอุปกรณ์นี้มาใช้ ในการรักษาจึงเป็นประโยชน์ในการช่วยมองเห็นรายละเอียดของจุดเกิดโรคในช่อง ปากได้ชัดเจนขึ้น
ทันตแพทย์วีรวัฒน์กล่าวปิดท้ายว่าวิวัฒนาการของเครื่องมือทางทันตกรรมในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมความก้าวหน้าของวงการทันตกรรมโลกและวงการทันตกรรมไทย เองก็พยายามที่จะเดินตามนวัตกรรมต่างๆนี้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการรักษา ผู้ป่วยอย่างไรก็ตามอุปกรณ์ทางการแพทย์เหล่านี้เราอาจได้เห็นในโรงเรียน แพทย์โรงพยาบาลหรือคลีนิคเอกชนก่อนทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องลุ้นกันว่าจะสามารถ นำเครื่องมือเครื่องใช้ดังกล่าวมาใช้ได้อย่างครอบคลุมทั่วทั้งประเทศได้ เมื่อไร
เนื้อหาโดย : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
Credit : http://health.sanook.com/