“ชนิดของโรคปวดศีรษะ ที่พบบ่อย ๆ”

Article-Template510

ชนิดของโรคปวดศรีษะ ที่พบบ่อย ๆ โดยทั่วไปแล้วมี 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. โรคปวดศรีษะไมเกรน(Migraines)
2. โรคปวดศรีษะจากความเครียด (Tension headache)
3. โรคปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์(Cluster headache)

*** โรคปวดศรีษะไมเกรน (Migraines) ***

อาการปวดศีรษะไมเกรน
อาการปวดศรีษะแบบปวดไมเกรนจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในส่วนสัด 2 ต่อ 1 โดยอาการปวดศีรษะชนิดนี้จะปวดเป็นพักๆ ปวดข้างใดข้างหนึ่ง ปวดแบบตุบๆ เหมือนชีพจรกำลังเต้นนอกจากนี้ ยังมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว หรือเห็นแสงสีร่วมอยู่ด้วย โดยอาการปวดจะเกิดขึ้นนาน 2-3 ชั่วโมง แล้วจะทุเลาลง หลังจากนั้นจะมีอาการปวดขึ้นใหม่ และจะมีอาการปวดในลักษณะนี้ติดต่อกันวันละครั้ง หรืออาทิตย์ละหลายครั้ง

สำหรับสาเหตุของอาการปวดศีรษะไมเกรนยังไม่เป็นที่ราบแน่ชัด แต่การศึกษาทางการแพทย์เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดในสมอง อย่างผิดปกติ ทำให้มีสารเคมีที่ทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้นที่ปลายประสาทรับความรู้สึกในส่วนของหน้า และศีรษะ จึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน
ปัจจัยที่กระตุ้นให้มีอาการปวดศีรษะไมเกรน
• อาหารที่มี สารกันบูด ถั่ว เนย ช็อกโกแลต ยาขยายหลอดเลือด
• อดอาหารนานๆ น้ำตาลในเลือดต่ำ
• นอนไม่เป็นเวลา เนื่องจากทำงานเป็นกะ หรือเดินทางไปต่างประเทศที่มีเวลาคลาดเคลื่อนกับประเทศไทย เป็นต้น
• ฮอร์โมนเพศหญิง มีประจำเดือนหรือแม้แต่การตั้งครรภ์ในระยะแรก
• อากาศร้อน แดดร้อน กลิ่นน้ำหอม กลิ่นเหม็น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไปเสีย

การวินิจฉัยอาการปวดศีรษะไมเกรน
จะวินิจฉัยจากประวัติของอาการปวด การตรวจร่างกายทางระบบประสาท รวมถึงโรคของสมองหรือไขสันหลัง ซึ่งพบว่า อาการคลื่นไส้ และอาเจียน เมื่อออกกำลังกายจะมีอาการปวดมากขึ้น โดยอาการเหล่านี้เป็นลักษณะจำเพาะของอาการปวดศีรษะไมเกรน ทั้งนี้ หากมีการตรวจร่างกายและระบบประสาทแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ขณะเดียวกัน เมื่อมีการตรวจสมองแล้วก็ไม่มีข้อบ่งชี้กับอาการปวด แพทย์ก็จะวินิจฉัยว่าเป็นอาการปวดศีรษะไมเกรน

*** โรคปวดศรีษะจากความเครียด (Tension Headache) ***

อาการปวดศีรษะจากความเครียด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป กล่าวคือ ประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ จะมีสาเหตุมาจากความเครียด โดยพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งสาเหตุก็มีหลายอย่าง เช่น ทำงานหนัก ใช้สมองมาก อารมณ์เครียด กังวลใจหรือ นอนหลับไม่พเพียงพอ เป็นต้น ทำให้มีอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อตรงต้นคอและรอบ ๆ ศีรษะ

ลักษณะอาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ตรงบริเวณต้นคอ หรือท้ายทอย หรืออาจจะปวดรอบศีรษะคล้ายถูกเข็มขัดรัด บางคนอาจปวดตื้อไปทั่วศีรษะ และส่วนมากแล้วก็มักจะปวดตอนบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ จะไม่มีอาการปวดหลังตื่นนอนตอนเช้า และถ้าได้นอนพักสักครู่อาจทุเลาหายไปได้เอง ที่น่าสังเกตุก็คือ อาการปวดมักเป็นอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็ทุเลาไปได้เอง แต่ก็มีบางคนเหมือนกันที่อาจปวดต่อเนื่องเป็นวัน ๆ การปวดลักษณะนี้โดยมากจะไม่มีอาการอื่น ๆ เช่น ตาพร่ามัว คลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ และ เป็นหวัด เป็นต้น ร่วมด้วย ซึ่งการตรวจร่างกาย จะไม่พบสิ่งที่ผิดปกติแต่อย่างใด รวมทั้งความดันเลือด ก็จะอยู่ในเกณฑ์ปกติด้วย

ข้อแนะนำ
1. การปวดศีรษะจากความเครียด ถือเป็นภาวะที่ไม่รุนแรง แต่อาจเป็น ๆ หาย ๆได้บ่อย อย่างไรก็ตาม ก่อนจะวินิจฉัยโรคนี้ ควรตรวจวัดความดัน และซักถามอาการให้ถ้วนถี่จนแน่ใจว่าไม่มีสาเหตุที่ร้ายแรงเสียก่อน
2. โรคนี้ควรแยกออกจากโรคไมเกรน ซึ่งจะมีลักษณะปวดตุบ ๆ ที่ขมับ แต่บางครั้งอาจแยกกันไม่ชัด แต่อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาเบื้องต้นก็ไม่ต่างกัน
3. ในรายที่เป็นเนื้องอกในสมองระยะแรกเริ่มอาจมีอาการปวดศีรษะไม่มาก คล้ายปวดศีรษะจากความเครียดก็ได้ แต่ต่อมาจะปวดถี่ขึ้นและแรงขึ้น มักจะปวดตอนดึกหรือเช้ามืด จนทำให้สะดุ้งตื่น และเป็นเรื้อรัง ดังนั้น ถ้าพบคนที่มีอาการปวดศีรษะในลักษณะดังกล่าว หรือเป็น ๆ หาย ๆ นานเกิน 2 สัปดาห์ ควรแนะนำให้ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
4. สำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะจากความเครียดเป็นประจำ ควรแนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าคร่ำเคร่งกับการงานจนเกินไป ออกกำลังกายเป็นประจำ และหาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ

*** โรคปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์ หรือ ปวดศรีษะข้างเดียว ***

0130017df_s

อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (cluster headache) คือ อาการปวดรุนแรงแบบข้างเดียว ซึ่งมักจะปวดตุบๆที่กระบอกตา หรือรอบๆ ตา หรือที่บริเวณขมับ และมักจะเป็นข้างเดียว โดยอาการปวดอาจจะเกิดขึ้นเป็นช่วงยาวประมาณ 10-200 นาที และอาการปวดอาจเกิดวันเว้นวัน หรือปวดบ่อยถึงวันละ หลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดขึ้นวันละ 1-2 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม ลักษณะเฉพาะของอาการปวดศีรษะแบบนี้ จะเป็นอยู่หลายวันนานถึงหลายสัปดาห์ และมีช่วงเวลาที่หายจากอาการปวดเป็นเดือนหรืออาจจะถึงปีแล้วก็กลับมาเป็นใหม่ โดยที่ในบางรายอาจมีอาการร่วมได้แก่น้ำตาไหล คัดจมูก น้ำมูกไหล เหงื่อออก บริเวณหน้าผาก เปลือกตาและใบหน้าข้างที่เป็นมีอาการบวม อาจมีอาการหนังตาตก และรูม่านตาหด

ทั้งนี้ ทางการแพทย์พบว่า อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์นี้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 5-6 เท่า และพบน้อยกว่าไมเกรน 10-50

การรักษาด้วยยา
เนื่องจากโรคนี้บางครั้งเป็นแค่ 10 นาทีแล้วหายการใช้ยาอาจไม่จำเป็น แต่ในรายที่เป็นมากอาจจะต้องรักษาด้วยยา หรือการทำบล็อกเส้นประสาทเนื่องจากอาหารปวดศีรษะ แบบคลัสเตอร์เป็นการปวดหัวที่ทรมานมาก ถ้าทิ้งไว้นานอาจจะส่งผลให้เกิดการฆ่าตัวตายได้
ทั้งนี้จะต้องแยกจากภาวะอื่น เช่นแรงดันในสมองสูง

โรคปวดศรีษะจากแรงดันในสมองสูง(Increase Intracranial Pressure)

อาการปวดศีรษะ เนื่องจากความดันในสมองสูง มีสาเหตุจากการมีก้อน หรือสิ่งผิดปกติภายในสมอง เช่นเนื้องงอกในสมอง เลือดออกในสมอง น้ำคั่งในสมอง หรือการติดเชื้อในสมอง ฯลฯ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการปวดศีรษะได้หลากหลาย และบางครั้งทำให้การวินิจฉัยเกิดความล่าช้า อีกทั้ง โรคปวดศีรษะจากแรงดันในสมองสูงนี้ การรักษาจะแตกต่างจากโรคปวดศีรษะในกลุ่มอื่นอย่างสิ้นเชิง

เนื่องจากมีสาเหตุเฉพาะที่ทำให้แรงดันในสมองสูง จึงต้องรักษาที่ต้นเหตุ และมักจะหายขาดได้ แต่ถ้าช้าเกินไปโรคจะลุกลามทำให้มีผลเสียอย่างมากถึงขั้นทำลายเนื้อสมอง หรือเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย
เนื่องจากผู้ป่วยในกลุ่มนี้ มีสาเหตุที่เกิดจากมีสิ่งผิดปกติภายในสมอง ดังนั้นการทำ MRI หรือ CT Scan ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาสาเหตุ
ในบางกรณีอาจต้องเจาะกรวดน้ำเลี้ยงเส้นประสาท เพื่อดูแรงดัน หรือภาวะติดเชื้อ

การรักษา
ควรรักษาที่ต้นเหตุที่ผิดปกติในสมอง แต่เนิ่นๆ ซึ่งจะทำให้การรักษามักได้ผลดี และปลอดภัยกว่า

Credit : http://www.never-age.com/

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *