Recent Posts

สัตว์ยุคน้ำแข็งตายหมู่ปริศนานับแสนตัวในคาซัคสถาน ผวาถึงขั้นสูญพันธุ์

รอยเตอร์ – ผู้เชี่ยวชาญนานาชาติกำลังดำเนินการสืบสวนการตายอย่างกะทันหันของกุย(ไซกา) สัตว์ใกล้สูญพันธุ์มากกว่า 100,000 ตัวในคาซัคสถานช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ในวันพุธ(27พ.ค.) ท่ามกลางความกังวลว่าสัตว์สายพันธุ์นี้ที่อยู่บนโลกมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง อาจเสี่ยงสูญพันธุ์ ราวร้อยละ 40 ของประชากร “กุย” ทั้งหมดในชาติเอเชียกลางแห่งนี้ เกิดตายอย่างปริศนาในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางการสันนิษฐานจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์ว่ามันอาจมีต้นตอจากโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ   คาซัคสถาน ประเทศที่มีเนื้อที่ขนาดใหญ่สุดอันดับ 9 ของโลก เป็นถิ่นฐานของประชากรกุย ราวร้อยละ 90 ที่มีอยู่บนโลกใบนี้ ซึ่งมีลักษณะเด่นที่สังเกตได้ง่าย คือมีจมูกที่ใหญ่กลมเป็นกระเปาะและมีเขาชี้ตั้ง “การตายของกุย ถือเป็นหายนะใหญ่หลวง” ไบไบกุล ซาร์เซโนวา นักสัตววิทยาบอก “มันอาจเกิดขึ้นอีกในปีหน้า บางทีมันอาจสูญพันธุ์ไปโดยสิ้นเชิง” สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ บอกว่าไกซา เป็นสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างที่สุดแล้ว …

Read More »

พบฟอสซิลมนุษย์กลุ่มใหม่อายุใกล้เคียง ‘ลูซี’

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ว่า วารสารวิทยาศาสตร์ “เนเจอร์” เผยแพร่ผลการศึกษาของทีมนักโบราณคดี ระบุว่าซากฟอสซิลมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ที่ขุดพบในเขตเบอร์เตเล ในรัฐอะฟาร์ ทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย มีอายุอยู่ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับ “ลูซี” ฟอสซิลมนุษย์ดึกดำบรรพ์สายพันธุ์ “ออสตราโลพิเธคัส อะฟาเรนซิส” (Australopithecus afarensis) ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด มนุษย์สายพันธุ์ใหม่ที่ถูกขุดพบเมื่อเดือน มี.ค. 2554 ได้รับการตั้งชื่อว่า “ออสตราโลพิเธคัส เดอิเรเมดา” (Austrslopithecus deyiremeda) ซึ่งคำว่าเดอิเรเมดา ในภาษาท้องถิ่นของอะฟาร์แปลว่า ญาติใกล้ชิด โดยจุดที่พบฟอสซิลของลูซีเมื่อปี 2517 อยู่ห่างออกไปเพียงประมาณ 50 กิโลเมตร ชิ้นส่วนที่พบคือ ฟัน ขากรรไกรล่าง และขากรรไกรบน …

Read More »