Recent Posts

นอน “มาก-น้อย” เกินไป เสี่ยง “โรคหัวใจ”

ทีมนักวิจัยจากเกาหลีใต้ นำโดยนายแพทย์คิม ชานวอน รองศาสตราจารย์ประจำโรงพยาบาลกังบุกซัมซุง ในเกาหลีใต้ เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยใหม่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างการนอนหลับและโรคหัวใจ พบว่าทั้งคนที่ใช้เวลานอนนานเกินไปและผู้ที่นอนน้อยเกินไปต่างก็เสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นเหมือนกัน นายแพทย์คิมระบุว่า นัยสำคัญของการศึกษาครั้งนี้คือเป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพแข็งแรงทั้งหญิงและชาย เพื่อค้นหาสิ่งที่เป็นตัวก่อเหตุให้เกิดโรคหัวใจก่อนที่จะเกิดอาการที่เกี่ยวเนื่องกับหัวใจขึ้นจริง ทั้งนี้ ทีมวิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษามากกว่า 47,000 คน ซึ่งอยู่ในวัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน ทั้งหมดถูกขอให้บ่งบอกถึงสภาพการนอนของตัวเอง โดยทีมวิจัยตรวจสอบข้อมูลจากการตรวจสุขภาพเพื่อดูปริมาณของแคลเซียมในหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง 29,000 คน และตรวจสภาพความแข็งกรอบของหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างอีก 18,000 คน ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.byrdie.com/ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงที่นอนหลับเกินกว่า 9 ชั่วโมงขึ้นไปต่อคืน จะมีแคลเซียมในผนังเส้นเลือดและเส้นเลือดมีความแข็งกรอบมากกว่าผู้ที่นอนหลับในระดับ 7 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งแคลเซียมเกาะผนังหลอดเลือดและความแข็งกรอบของเส้นเลือดเป็น 2 ปัจจัยที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับหัวใจได้สูงในอนาคต ในเวลาเดียวกัน คนที่นอนหลับคืนละ 5 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า …

Read More »

คลายข้อสงสัย? ไข้หวัดใหญ่…ทำไมฉีดวัคซีนแล้วยังติดได้

นายแพทย์เสน่ห์ เจียสกุล ประธานคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ให้ข้อมูลไขข้อข้องใจว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าในบางปีไข้หวัดที่ระบาดเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ได้มีในวัคซีน ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่า “Vaccine Mismatch” หรือ วัคซีนไม่ตรงกับสายพันธุ์เชื้อที่ระบาด คุณหมออธิบายลงรายละเอียดว่า ไวรัสที่ก่อให้เกิดเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) มีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ A, B และ C สายพันธุ์ A และ B นั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน เรียกว่าเป็นสายพันธุ์ที่ร้ายแรง ส่วนสายพันธุ์ C นั้นเป็นเชื้อชนิดอ่อนไม่แสดงอาการและไม่ทำให้เกิดการระบาด ไวรัสสายพันธุ์ A จำแนกออกเป็น A/H1N1 และ A/H3N2 เป็นสายพันธุ์หลักที่พบการระบาด …

Read More »

นวัตกรรมเครื่องมือรักษาฟันไปถึงไหนแล้ว

ว่ากันว่าประเทศที่กำลังพัฒนาทางความเจริญจะมากน้อยแค่ไหน สิ่งหนึ่งที่พอจะเป็นตัวชี้วัดได้คือ ความก้าวหน้าด้านทันตกรรม และสุขภาพ น่าสนใจว่าการพัฒนาวิธีการรักษาโรคทางทันตกรรมจึงเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่อง แต่ละยุคสมัยยังคงมีนวัตกรรมการรักษาที่ทันสมัย และเข้ามามีบทบาทเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการวินิจฉัยโรคและช่วยเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย สำหรับประเทศไทย ความก้าวหน้าทางด้านทันตกรรมของเรามาถึงจุดไหน “ประชาชาติธุรกิจออนไลน์” พูดคุยกับ ทันตแพทย์ วีรวัฒน์ สัตยานุรักษ์หัวหน้าศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลพญาไท 3 ซึ่งเล่าให้ฟังถึงสถานการณ์นวัตกรรมในวงการทันตกรรมไทยเวลานี้ว่า เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทางทันตกรรมในประเทศ เองมากนักจึงมีการนำนวัตกรรมด้านทันตกรรมจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศไทย เป็นระยะๆและที่สำคัญบริษัทผู้ผลิตจากต่างชาติก็ให้ความสนใจในการนำเข้า อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆมาให้ทันตแพทย์ไทยได้ทดลองและศึกษาเปรียบเทียบจึง มองว่าเป็นโอกาสดีสำหรับทันตแพทย์ที่จะได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆที่จะเป็น ประโยชน์ต่อการรักษา “ นวัตกรรมทางทันตกรรมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยโรคและการวางแผนการ รักษาให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมากเพราะว่าการมีเครื่องมือในการรักษาที่ทัน สมัยสามารถช่วยให้การรักษารวดเร็วแม่นยำและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น” โดยทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยเพิ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมทันตแพทย์โลก(FDIBangkok2015)เมื่อเร็วๆนี้ โดยหัวข้อในการจัดงานคือ “ทันตกรรมแห่งศตวรรษที่21”เป็นการนำนวัตกรรมทางทันตกรรมจากต่างประเทศอาทิ สหรัฐฯ เยอรมนี และเกาหลีใต้ มาร่วมเปิดตัวในงาน ซึ่งทันตแพทย์วีรวัฒน์ได้กล่าวถึงนวัตกรรมที่เป็นไฮไลต์ๆหลัก ได้แก่ 1.ระบบ CBCT (cone beamcomputerized …

Read More »