แพทย์พบประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ที่ขาดความรู้และเข้าใจ พร้อมแนะ 3 แนวทางวิธีการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการดื้อยา แฟ้มภาพ นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า กรมการแพทย์ให้ความสำคัญกับการป้องกัน และควบคุมปัญหาเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล โดยมีการวางแผนป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาที่เป็นผลพวงหลักจากการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น และไม่ถูกต้องทั้งในและนอกโรงพยาบาล โดยมุ่งเน้นให้สถานพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ควบคุมปริมาณการจ่ายยาปฏิชีวนะให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน และสอดรับกับนโยบาย ของรัฐบาลในการลดค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น สาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผล ประชาชนไม่มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง เช่น การซื้อยาใช้เอง การร้องขอยาจากแพทย์ การใช้ยาผิดข้อบ่งชี้ ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมปัญหาการดื้อยา แนวทางการใช้ยา 3 ข้อ ดังนี้ 1.ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีจำเป็นเท่านั้น เช่น การป่วยด้วยโรคหวัด ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ …
Read More »เฝ้าระวัง 6 โรคติดต่อช่วงฤดูหนาว
แฟ้มภาพ กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศเรื่องการป้องกันโรคและภัยที่เกิดช่วงฤดูหนาวเนื่องจากขณะนี้เข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเช่นนี้ อาจเป็นสาเหตุของโรคติดต่อหลายชนิด โดยเฉพาะโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคสุกใส โรคมือเท้าปาก และโรคอุจจาระร่วง ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็วส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ กองควบคุมโรคติดต่อขอให้ประชาชนระมัดระวังดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงคือเด็กเล็กอายุระหว่าง 0-4 ขวบ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นต้น โดยขอแนะนำให้ทราบถึงข้อมูลโรคติดต่อและการป้องกันควบคุมโรคที่อาจเกิดในฤดูหนาว ได้แก่ 1.โรคไข้หวัดและโรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อทางจมูกปาก ตา เชื้อนี้อยู่ในละอองเสมหะน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วยที่ไอจามออกสู่สาธารณะ 2.โรคปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อในปอดทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียติดต่อทางจมูก ปาก ตา เชื้อนี้อยู่ในละอองเสมหะน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วยที่ไอจามออกสู่สาธารณะ 3.โรคหัด ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสหัดติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูกน้ำลายผู้ป่วยโดยตรงและการติดต่อทางอากาศผ่านละอองฝอยจากการไอจามของผู้ป่วย …
Read More »ระวัง! แอร์รถยนต์สกปรก ราขึ้นรถ สาเหตุสุขภาพพัง
เคยเข้าไปนั่งในรถตัวเอง หรือรถเพื่อน แล้วรู้สึกอากาศอับๆ ชื้นๆ หรืออาจจะฝุ่นเยอะจนทั้งจามทั้งไอตั้งแต่ก้าวแรกที่ขึ้นรถกันบ้างไหมคะ อากาศบ้านเราก็ทั้งร้อนทั้งชื้น ทั้งเชื้อรา ทั้งแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่ายมากๆ ยิ่งช่องแอร์ถ้าไม่ได้รับการทำความสะอาดบ้าง ลมปะทะหน้าครั้งแรกที่เปิดแอร์นี่เต็มไปด้วยเชื้อราชัดๆ จะไม่ให้ป่วยได้ยังไงไหว ทางการแพทย์เขาเรียกว่า “Sick Car Syndrome” ค่ะ อาการป่วยจากเชื้อรา แบคทีเรีย และฝุ่นต่างๆ ในรถยนต์ – ไอ – จาม – หายใจลำบาก – ระคายเคืองตา และจมูก จนน้ำมูกน้ำตาไหล – ง่วงซึม – แน่นหน้าอก – ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ – ภูมิแพ้ สเปรย์ฉีดดับกลิ่น น้ำยาดับกลิ่นในรถ …
Read More »มาดูกัน…ยุงชอบกัดคนประเภทไหน
ไข้เลือดออก โรคนี้เกิดจากการถูกยุงกัด รู้แบบนี้ก็ต้องตัดไฟแต่ต้นลม ทำอย่างไรไม่ให้ถูกยุงกัด ทำความรู้จักกับชนิดของยุงที่เป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ พร้อมลักษณะของคนที่ยุงชอบกัดเป็นพิเศษ และหากอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะ เรายังมีวิธีการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดมาฝากกันอีกด้วย ประเทศไทยมักพบกับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกระบาดหนักในช่วงหน้าฝนของทุกปีโดยพบผู้มีอาการป่วยและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งพาหะของโรคนี้ก็คือ ยุง นั่นเอง นอกจากโรคไข้เลือกออกแล้ว ยุง ยังเป็นพาหะนำไปสู่โรคอื่น ๆ เช่น โรคไข้ชิคุนกุนยา โรคไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้าง ขณะที่ในช่วงหน้าหนาวก็เป็นอีกฤดูที่ยุงชุมมากเช่นกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันตนเองไม่ให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เหล่านี้ เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของคนที่ยุงชอบกัด อาการที่เกิดหลังถูกยุงกัด รวมทั้งวิธีป้องกันตนเองเบื้องต้นมาแนะนำให้ทราบกัน ทั้งนี้ ดร.อุษาวดี ถาวระ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ 8 ว. กลุ่มงานกีฏวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยุง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไว้ดังนี้ ชนิดของยุงที่มาพร้อมกับโรคต่าง …
Read More »โรคหัวใจ-หลอดเลือด ภัย!เงียบเสี่ยงวูบ
“โรคหัวใจและหลอดเลือด” กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศและระดับโลก รายงานองค์การอนามัยโลก พ.ศ.2551 พบว่า การเสียชีวิตของประชากรโลก 36 ล้านคน มีสาเหตุมาจาก 4 กลุ่มโรค NCDs ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพองและโรคเบาหวาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก…จากทั้งสิ้น 57 ล้านคน และจากรายงานภาระโรค NCDs พบว่า ในปี พ.ศ.2553 การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุด อยู่ที่ 15.62 ล้านคน “ประเทศไทย” ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคชี้ว่า ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งหมด 58,681 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน …
Read More »นอน “มาก-น้อย” เกินไป เสี่ยง “โรคหัวใจ”
ทีมนักวิจัยจากเกาหลีใต้ นำโดยนายแพทย์คิม ชานวอน รองศาสตราจารย์ประจำโรงพยาบาลกังบุกซัมซุง ในเกาหลีใต้ เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยใหม่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างการนอนหลับและโรคหัวใจ พบว่าทั้งคนที่ใช้เวลานอนนานเกินไปและผู้ที่นอนน้อยเกินไปต่างก็เสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นเหมือนกัน นายแพทย์คิมระบุว่า นัยสำคัญของการศึกษาครั้งนี้คือเป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพแข็งแรงทั้งหญิงและชาย เพื่อค้นหาสิ่งที่เป็นตัวก่อเหตุให้เกิดโรคหัวใจก่อนที่จะเกิดอาการที่เกี่ยวเนื่องกับหัวใจขึ้นจริง ทั้งนี้ ทีมวิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษามากกว่า 47,000 คน ซึ่งอยู่ในวัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน ทั้งหมดถูกขอให้บ่งบอกถึงสภาพการนอนของตัวเอง โดยทีมวิจัยตรวจสอบข้อมูลจากการตรวจสุขภาพเพื่อดูปริมาณของแคลเซียมในหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง 29,000 คน และตรวจสภาพความแข็งกรอบของหลอดเลือดของกลุ่มตัวอย่างอีก 18,000 คน ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.byrdie.com/ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงที่นอนหลับเกินกว่า 9 ชั่วโมงขึ้นไปต่อคืน จะมีแคลเซียมในผนังเส้นเลือดและเส้นเลือดมีความแข็งกรอบมากกว่าผู้ที่นอนหลับในระดับ 7 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งแคลเซียมเกาะผนังหลอดเลือดและความแข็งกรอบของเส้นเลือดเป็น 2 ปัจจัยที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับหัวใจได้สูงในอนาคต ในเวลาเดียวกัน คนที่นอนหลับคืนละ 5 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า …
Read More »คลายข้อสงสัย? ไข้หวัดใหญ่…ทำไมฉีดวัคซีนแล้วยังติดได้
นายแพทย์เสน่ห์ เจียสกุล ประธานคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ให้ข้อมูลไขข้อข้องใจว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าในบางปีไข้หวัดที่ระบาดเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ได้มีในวัคซีน ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่า “Vaccine Mismatch” หรือ วัคซีนไม่ตรงกับสายพันธุ์เชื้อที่ระบาด คุณหมออธิบายลงรายละเอียดว่า ไวรัสที่ก่อให้เกิดเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) มีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ A, B และ C สายพันธุ์ A และ B นั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน เรียกว่าเป็นสายพันธุ์ที่ร้ายแรง ส่วนสายพันธุ์ C นั้นเป็นเชื้อชนิดอ่อนไม่แสดงอาการและไม่ทำให้เกิดการระบาด ไวรัสสายพันธุ์ A จำแนกออกเป็น A/H1N1 และ A/H3N2 เป็นสายพันธุ์หลักที่พบการระบาด …
Read More »นวัตกรรมเครื่องมือรักษาฟันไปถึงไหนแล้ว
ว่ากันว่าประเทศที่กำลังพัฒนาทางความเจริญจะมากน้อยแค่ไหน สิ่งหนึ่งที่พอจะเป็นตัวชี้วัดได้คือ ความก้าวหน้าด้านทันตกรรม และสุขภาพ น่าสนใจว่าการพัฒนาวิธีการรักษาโรคทางทันตกรรมจึงเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่อง แต่ละยุคสมัยยังคงมีนวัตกรรมการรักษาที่ทันสมัย และเข้ามามีบทบาทเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการวินิจฉัยโรคและช่วยเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย สำหรับประเทศไทย ความก้าวหน้าทางด้านทันตกรรมของเรามาถึงจุดไหน “ประชาชาติธุรกิจออนไลน์” พูดคุยกับ ทันตแพทย์ วีรวัฒน์ สัตยานุรักษ์หัวหน้าศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลพญาไท 3 ซึ่งเล่าให้ฟังถึงสถานการณ์นวัตกรรมในวงการทันตกรรมไทยเวลานี้ว่า เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทางทันตกรรมในประเทศ เองมากนักจึงมีการนำนวัตกรรมด้านทันตกรรมจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศไทย เป็นระยะๆและที่สำคัญบริษัทผู้ผลิตจากต่างชาติก็ให้ความสนใจในการนำเข้า อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆมาให้ทันตแพทย์ไทยได้ทดลองและศึกษาเปรียบเทียบจึง มองว่าเป็นโอกาสดีสำหรับทันตแพทย์ที่จะได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆที่จะเป็น ประโยชน์ต่อการรักษา “ นวัตกรรมทางทันตกรรมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยโรคและการวางแผนการ รักษาให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมากเพราะว่าการมีเครื่องมือในการรักษาที่ทัน สมัยสามารถช่วยให้การรักษารวดเร็วแม่นยำและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น” โดยทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยเพิ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมทันตแพทย์โลก(FDIBangkok2015)เมื่อเร็วๆนี้ โดยหัวข้อในการจัดงานคือ “ทันตกรรมแห่งศตวรรษที่21”เป็นการนำนวัตกรรมทางทันตกรรมจากต่างประเทศอาทิ สหรัฐฯ เยอรมนี และเกาหลีใต้ มาร่วมเปิดตัวในงาน ซึ่งทันตแพทย์วีรวัฒน์ได้กล่าวถึงนวัตกรรมที่เป็นไฮไลต์ๆหลัก ได้แก่ 1.ระบบ CBCT (cone beamcomputerized …
Read More »เมตตา รุ่งรัตน์ เผยภัยร้ายจากบุหรี่ ทำชีวิตบั้นปลายพังยับ
ดวงดาวบนฟากฟ้าวงการบันเทิงใครว่ามีแต่เรื่องสุขกายสบายใจ แม้รายได้ดีมีชื่อเสียง แต่ถ้าคนใกล้ชิดติดบุหรี่ก็ทำให้เห็นน้ำตาดาวได้ เราคนเดินดินกินข้าวแกงควรรับรู้ไว้เป็นอุทาหรณ์ ย้อนดูตัวเองว่าทุกวันนี้ทำตัวให้เสี่ยงกับพิษร้ายของบุหรี่หรือไม่ ที่ว่าไม่เห็นจะเดือดร้อนใครนั้นไม่จริงหรอก เกิดมาทั้งทีอย่างน้อยต้องมีคนรักสักคน ไม่พ่อแม่ก็พี่น้อง สามีภรรยา และเพื่อนฝูง การทำให้คนรักเสียใจนั้นเจ็บยิ่งกว่าตนเองเป็นฝ่ายเสียใจ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณนักแสดงอาวุโส เมตตา รุ่งรัตน์ ที่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เห็นเธอโลดแล่นบนจอแก้วจอเงินมาตั้งแต่เด็ก ล้นหลามทั้งชื่อเสียงและรายได้ คิดว่าชีวิตเธอคงมีแต่ความสุขสดใสไร้เรื่องทุกข์ จริงๆแล้วก็เกือบเป็นเช่นนั้น หากชีวิตเป็นของเธอเพียงผู้เดียว แต่เมื่อเธอให้ใจใครคนหนึ่งไปแล้ว เมื่อเขาทุกข์ เธอก็ทุกข์ยิ่งกว่า ทั้งหมดทั้งมวลคือผลกระทบที่เกิดจากพิษภัยของบุหรี่ ซึ่งไม่เพียงเกิดกับตัวสามีเท่านั้น เธอเองก็ได้รับผลกระทบจากการรับควันบุหรี่มือสองนาน 30 ปีด้วย จากที่เคยสุขภาพดีก็เป็นโรคภูมิแพ้โรคหอบหืด แม้สามีเลิกบุหรี่มาได้ 10 ปีเพราะเห็นเธอป่วย แต่ก็ทำให้ล้มเลิกแผนการใช้ชีวิตบั้นปลายด้วยกันที่ จ.นครนายก เพราะสามีต้องมาป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพองในระยะสุดท้าย แถมด้วยโรคแทรกซ้อน ทั้งน้ำท่วมปอดและปอดติดเชื้อ “เมื่อสามีป่วย ทุกอย่างเราก็ต้องเป็นคนดูแล ทั้งเรื่องการจัดอาหาร …
Read More »′ธาราบำบัด′รักษาข้อเข่าเสื่อมผู้สูงวัย
ใช้′ธาราบำบัด′รักษาข้อเข่าเสื่อมผู้สูงวัย ผลวิจัยพบช่วยฟื้นฟู ลดปวดได้ดี วันที่ 14 กันยายน ที่รพ.สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จ.ชลบุรี นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวในการดูรูปแบบการใช้ “ธาราบำบัด” เพื่อพัฒนารูปแบบบำบัดฟื้นฟูผู้สูงอายุที่ป่วยข้อเข่าเสื่อมและมีภาวะอ้วนขึ้น ถ่ายทอดวิชาการลงสู่สถานบริการ ทั่วประเทศ รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศ ในโครงการการจัดบริการที่ดีให้ประชาชน(Better Service) พร้อมกล่าวว่า โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในคนสูงอายุทุกเชื้อชาติ พบได้ร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป ข้อมูลล่าสุดในปี 2553 พบคนไทยป่วยโรคข้อเสื่อมกว่า6 ล้านคน มากที่สุดคือข้อเข่า เนื่องจากเป็นอวัยวะที่แบกรับน้ำหนักตัวโดยตรงทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา พบในผู้หญิงมากกว่าชาย 2-3 เท่าตัว นพ.ปานเนตร กล่าวว่า คาดว่าผู้ป่วยโรคนี้จะเพิ่มขึ้นมาก จากปัญหาโรคอ้วนผลการวิจัยทั่วโลก …
Read More »