ตามรอยไวรัส ‘เมอร์ส’ แพร่กระจายในเกาหลีใต้ได้อย่างไร?

EyWwB5WU57MYnKOuXxxBFwPi7QebUsiHlsQHdjF3NUrAik1OZGkvMn(ภาพ: AP)

เกาหลีใต้กำลังพยายายามอย่างหนักเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส เมอร์ส ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อในประเทศแล้ว 122 คน เสียชีวิตไปแล้ว 10 ราย และถูกกักตัวเพื่อสังเกตการณ์มากกว่า 3,800 คน ทำให้แดนโสมขาวกลายเป็นประเทศที่มีการระบาดของไวรัสเมอร์สมากที่สุด รองจากซาอุดีอาระเบีย โดยที่ใครจะเชื้อว่าวิกฤติครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นจากอาการป่วยเล็กน้อยอย่างการไอเท่านั้น

แต่ก่อนที่เราจะไปพูดถึงต้นตอการระบาดในเกาหลีใต้ เรามาทำความรู้จักกับไวรัส เมอร์ส หรือชื่อเต็มว่า ไวรัสโคโรนา สายพันธ์ุกลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง กันก่อนดีกว่า

NjpUs24nCQKx5e1D7Rv4vLgtX0BM1lcrX06yza5z8Fsเมอร์สถูกพบในซาอุดีอาระเบียเป็นที่แรก (ภาพ: AFP)

กำเนิดไวรัสเมอร์ส

ต้นกำเนิดของไวรัสเมอร์ส เชื่อว่ามาจากไวรัสในค้างคาว และติดต่อไปยังอูฐมาตลอดช่วงเวลาอย่างน้อย 20 ปีที่ผ่านมา และเริ่มแพร่กระจายเข้าสู่มนุษย์ในช่วงทศวรรษที่ 2010 โดยยังไม่มีใครรู้ จนกระทั่งแพทย์ชาวอียิปต์ประกาศการค้นพบไวรัสตัวนี้ ซึ่งอยู่ภายในปอดของคนไข้ในซาอุดีอาระเบียเมื่อเม.ย.ปี 2012 โดยตอนแรกมีชื่อเรียกว่า โนเวล โคโรนาไวรัส 2012

หลังจากนั้น ไวรัสชนิดนี้ก็ระบาดอย่างรุนแรง โดยพบผู้ติดเชื้อมากที่สุดในซาอุดีอาระเบีย โดยมีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยัน 938 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตถึง 402 คน คิดเป็นอัตราเสียชีวิต 43% รองลงมาคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ติดเชื้อ 74 ราย เสียชีวิต 10 คน นอกจากนี้ยังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อเมอร์สในอีกกว่า 24 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งมาเลเซียและฟิลิปปินส์ แต่มีผู้ติดเชื้อรวมกันเพียงและทั้งหมดติดเชื้อมากจากซาอุดีอาระเบีย

NjpUs24nCQKx5e1D7Rv4vLgtX0BM1ldvQUU37Q3EHrbเชื้อกันว่าเมอร์สแพร่สู่คนจากอูฐ (ภาพ: AFP)

แล้วไวรัสเมอร์สเข้าสู่เกาหลีใต้ได้อย่างไร?

หลังจากการระบาดครั้งใหญ่ในปี 2012 ก็มีรายงานพบผู้ติดเชื้อเมอร์สประปรายในประเทศต่างๆ แต่ไม่รุนแรงเหมือนเมื่อครั้งระบาดใหม่ๆ กอปรกับถูกกระแสตื่นตัวเชื่อไวรัสอีโบลา ในแอฟริกาตะวันตกกลบจนมิด ทำให้เชื้อเมอร์สหายไปจากหน้าสื่อ แต่ไม่ได้หมายความว่าไวรัสตัวนี้หายไปด้วย และเมื่อ 20 พ.ค. 2015 เกาหลีใต้ประกาศพบผู้ติดเชื้อเมอร์สรายแรกในประเทศ โดยเป็นชายชาวเกาหลีใต้อีกยุ 68 ปี ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากภูมิภาคตะวันออกกลาง

ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับชายคนนี้ถูกเปิดเผยออกมามากนัก แต่จากการสัมภาษณ์ภรรยาของชายคนนี้ทำให้รู้ว่า เขาเดินทางไปพบหมอหลายคนที่สถานพยาบาลหลายแห่งในกรุงโซล เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับอาการป่วยของเขา ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุขของเกาหลีใต้เชื้อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อไวรัสติดต่อไปยังผู้คนอย่างน้อย 30 คน ทั้งคนไข้และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล

ขณะที่ตามการเปิดเผยของกระทรวงสาธารณสุข ในเบื้องต้นหลังจากที่ชายวัย 68 ปีรายนี้ เดินทางกลับถึงบ้านเกิดเมื่อวันที่ 9 พ.ค. เขาก็เริ่มมีอาการไอ จึงเดินทางไปหาหมอที่โรงพยาบาลในเมืองอาซาน ทางใต้ของกรุงโซล และเพียงวันเดียวหลังจากนั้นอาการป่วยของเขาก็แย่ลงและเดินทางไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอีกแห่งที่อยู่ใกล้กับแห่งแรก ซึ่งแพทย์จัดให้เขานอนในห้องผู้ป่วยคู่ กับคนไข้อีกคนหนึ่ง โดยรู้ว่าชายคนนี้ติดเชื้อเมอร์ส

NjpUs24nCQKx5e1D7Rv4vLgtX0BM1laizwohr2DBWbFเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้ฉีดยาฆ่าเชื้อที่สถานีรถไฟใต้ดินในกรุงโซล (ภาพ: REUTERS)

หลังจากนอนในโรงพยาบาล 3 วัน ชายวัย 68 ปีก็ได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล เขาซึ่งอาการป่วยยังไม่หายดีจึงเดินทางเข้ากรุงโซลและพบแพทย์ที่คลินิกเอกชน เซนต์ แมรี ก่อนจะเดินทางไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล ซัมซุง เมดิคัล เซ็นเตอร์ และถูกส่งตัวเข้าห้องฉุกเฉิน จากนั้นจึงได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเมอร์ส ในวันที่ 20 พ.ค. 9 วันหลังกลับจากตะวันออกกลาง

ความล่าช้าในการรับมือกับโรคของรัฐบาล เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทุกภาคส่วน ซึ่งนาย มูน ฮยอง-เปียว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้ก็ออกมายอมรับผิดว่า การแพร่กระจายของไวรัสเมอร์ส น่าจะยุติได้เร็วกว่านี้ หากพวกเขาตอบสนองได้เร็วกว่านี้

แต่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า แพทย์ไม่ได้ตรวจหาเชื้อเมอร์สในตัวชายคนนี้ทันที เนื่องจากเขาบอกกับเจ้าหน้าที่การแพทย์ว่า เขาเดินทางไปยังประเทศบาห์เรน ซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคคาบสมุทรอาระเบียไม่มีประวัติพบผู้ติดเชื้อเมอร์ส รวมทั้งไม่ได้สัมผัสกับผู้ป่วยหรืออูฐ สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคเมอร์สสู่คน แต่ทราบในภายหลังว่า ชายคนนี้เดินทางไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบียด้วย โดยภรรยาของชายคนนี้อ้างว่า สามีของเธอสับสนเรื่องการเดินทางเพราะพิษไข้

การแพร่กระจายของไวรัสเมอร์ส เกิดขึ้นเป็นกระบวนการลูกโซ่ จากชายวัย 68 ปีคนนี้ ไปยังคนไข้คนอื่นๆ และคนไข้เหล่านั้นก็ถูกส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นๆ ทำให้เกิดห่วงโซ่การแพร่กระจายใหม่ขึ้นอีก โดยในปัจจุบัน (นับจนถึงวันที่ 11 มิ.ย.) เกาหลีใต้สั่งกักบริเวณหรือกักตัว ผู้ต้องสงสัยว่าสัมผัสกับผู้ติดเชื้อเมอร์สและกว่า 3,800 คน

NjpUs24nCQKx5e1D7Rv4vLgtX0BM1lXAXovZe26f9Soหน้ากากอนามัยขายดีมาก (ภาพ: REUTERS)

เอเชียตื่นตัวรับมือไวรัสเมอร์ส

การแพร่กระจายของไวรัสเมอร์สในเกาหลีใต้ทำให้หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ตื่นตัวออกมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสร้ายตัวนี้เดินทางเข้าสู่งประเทศได้ โดยลูกพี่ใหญ่ของภูมิภาคอย่างจีน สั่งให้โรงพยาบาลและแพทย์รายงานทันทีที่พบคนไข้โรคปอดบวมหรือไข้หวัด ที่เกิดอาการโดยไม่ทราบสาเหตุ และยกระดับการเฝ้าระวังผู้ป่วยก่อนที่ช่วยจีนมุสลิมจะเดินทางไปทำพิธีฮัจจ์ที่เมืองเมกกะ ในซาอุดีอาระเบียในเดือนก.ย.

ส่วนญี่ปุ่น กระทรวงสาธารณสุขออกคำสั่งในวันพฤหัสบดี ให้สนามบินนาริตะเริ่มโครงการตรวจสอบสุขภาพของผู้มาเยือนจากเกาหลีใต้ ถ้าพบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ ก็สามารถกักตัวเพื่อสังเกตการณ์ได้นาน 14 วัน ขณะที่ฮ่องกง ประกาศเตือนพลเมืองที่เดินทางไปยังกรุงโซล ให้หลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้ศูนย์พยาบาลต่างๆ และสั่งให้กักตัวคนไข้ที่มีอาการป่วยหลังจากเดินทางไปยังเกาหลีใต้ในช่วง 2-14 วันที่ผ่านมาทันที โดยจนถึงตอนนี้มีผู้ถูกกักตัวแล้ว 19 คน

NjpUs24nCQKx5e1D7Rv4vLgtX0BM1lV0RqIZh3dKktLเจ้าหน้าที่ของท่าอากาศยานในฮ่องกงตรวจเข้มผู้โดยสารซึ่งเดินทางมาจากเมืองบูซาน ในเกาหลีใต้ (ภาพ: AP)

ด้านเกาหลีเหนือ ได้ร้องขอเครื่องตรวจอุณหภูมิจากเกาหลีใต้ เพื่อตรวจสอบผู้จัดการโรงงานชาวเกาหลีใต้ในนิคมอุตสาหกรรมแคซอง ส่วนกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร ประกาศให้ใครก็ตามที่เพิ่งกลับจากตะวันออกกลางและเกาหลีใต้ และป่วยเป็นโรงทางเดินหายใจหรือโรคปอดบวม เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล ขณะที่อินโดนีเซีย เริ่มการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิซึ่งติดตั้งไวัที่ท่าอากาศยานนานาชาติและท่าเรือ 13 แห่งทั่วประเทศใหม่อีกครั้งนับตั้งแต่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อในจีนและเกาหลีใต้ โดยผู้เดินทางจากมาจาก 2 ประเทศนี้ จะต้องกรอกข้อมูลในการ์ดเตือนสุขภาพ และทุกสายการบินต้องแจ้งต่อแพทย์สนามบินหากมีลูกเรือหรือผู้โดยสารป่วย

ที่ประเทศมาเลเซีย รัฐบาลยกระดับมาตรการฝ่ายระวังการส่งผ่านเชื้อบริเวณทางเข้าเมืองระหว่างประเทศ ส่วนกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม ประกาศให้นักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้และ 10 ประเทศในตะวันออกกลาง ต้องกรอกเอกสารเกี่ยวกับสุขภาพเมื่อเดินทางถึงสนามบินและชายแดนต่างๆของเวียดนาม ขณะที่ประเทศไทยประกาศให้ เมอร์ส เป็นโรคติดต่ออันตรายชนิดที่ 7 และเตรียมออกคำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจจ์ที่ซาอุดีอาระเบีย รวมถึงผู้ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงอื่นๆด้วย

Credit : www.thairath.co.th

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *