เมื่อเวลา 10.30.น.ของวันที่ 16 ก.ค ที่ห้องประชุมตลาดกลางพาราภาคตะวันออก ม.2 ต.ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง นายพรศักดิ์ เจียรนัย ประธาน อนุกรรมาธิการเกษตร และคณะสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะแก้ปัญหาราคายางตกต่ำทั้งระบบครบวงจร พล.อ. สกนย์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมการพลังงาน พล.ท.จเรศักดิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมการคมนาคม ร่วม รับฟังปัญหา เรื่องยางพารา จากสมาชิกสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยยท) มีนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย นายไชยา บุญญานุภาพ สหกรณ์จังหวัดระยอง ประธานสหกรณ์ทุกอำเภอในจังหวัดระยอง ผู้ประกอบการเกี่ยวกับยางพาราจำนวน 30 ราย ร่วมรับฟัง เนื่องจากครบรอบสองปีของพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2558 ที่เกษตรกรตั้งความหวังไว้สูงในการที่เกษตรกรชาวสวนยางพึ่งพาตนเองและยอมเสียงเงิน cess เพื่อบริหารจัดการโดยไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวในประเทศไทยที่เกษตรกรชาวสวนยางควรภาคภูมิใจความหวังของเกษตรกรชาวสวนยางทุกคนจึงมีวัตถุประสงค์ตามมาตราแปดพี่อยากเห็น เพื่อบริหารจัดการโดยไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวในประเทศไทยที่เกษตรกรชาวสวนยางควรภาคภูมิใจความหวังของเกษตรกรชาวสวนยางทุกคนจึงมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 8 ที่อยากเห็น องค์กรนี้ขับเคลื่อนไป
โดยยึดเกษตรกรชาวสวนยางเป็นที่ตั้งแต่ระยะเวลาซึ่งผ่านมา 2 ปีความหวังของเกษตรกรชาวสวนยางต่างก็ผิดหวังกันเกือบถ้วนหน้า เพราะการบริหารงานของ กยท. ได้มีปัญหาในการรวมองค์กร 3 องค์กรให้เป็นหนึ่ง ยังไม่ลงตัวจนถึงปัจจุบันบางองค์กร 1 ใน 3 ยังไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบริหารองค์กรอีกประเด็นของผลงานก็คือการประมูลยาง 3.1 แสนตันเปิดประมูล 5 ครั้งจากเดือนมกรา 2560 ถึงเดือนมีนาคม 2560 ซึ่งทำให้ราคายางจากตลาด กยท. 6 ตลาด 31 มกราคม 2560 ประมูลครั้งแรกราคา 98 บาท/กก. และประมูล5 ครั้งถึง 31 มีนาคม 2560 ราคาอยู่ที่ 68 บาท/กก. ลดลง 30 บาท/กก. นี่คือการบริหารงานของผู้รับผิดชอบอย่างทั้งประเทศ และอีกผลงานหนึ่งที่ชัดเจนก็คือในสภาวะที่ราคายางมีปัญหา ทางเจ้าหน้าที่ กยท. ได้เขียนบทความในวันที่ 10 เมษายน 2560 เผยแพร่ไปในเว็บไซต์ราคายางดอทคอมไปทั่วโลกที่เกี่ยวกับยางภาคตะวันออกที่ใส่สีเหลืองและสัมผัสความร้อนจากแสงแดดทำให้คุณภาพอย่างไม่ดีและนอกจากนั้นยัง พูดถึงกรดฟอร์มิกที่ขายในภาคอีสาน 22 ตัวอย่างปลอมเกือบหมดซึ่งจะทำให้อย่างเสื่อมนี่คือผลการกระทำของ กยท. ที่ทำให้ราคายางตกลงอย่างต่อเนื่องซึ่งราคายางลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์จนเกษตรกรเดือดร้อนจนทุกวันนี้จากการบริหารจัดการ
ส่วนในการช่วยเหลือเกษตรกรตามมาตรา 49(3) เกษตรกรยังไม่ได้รับเงินมาแก้ไขในการรักษาเสถียรภาพราคายางเลยทั้งที่เป็นปัญหาวิกฤตในเรื่องราคายาง (5) เงินสวัสดิการได้จัดฟังรับความคิดเห็นเกษตรกรชาวสวนยางทุกภาคแต่ไม่ยอมนำข้อสรุปในที่ประชุมมาใช้เลยซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของเกษตรกรชาวสวนยางดังนั้นจึงขอให้ผู้บริหาร กยท. ทุกคนได้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติพ.ศ. 2558 ที่ครบ 2 ปีแล้วจะต้องทำเพื่อเกษตรกรชาวสวนยางและควรรับฟังเกษตรกรชาวสวนยางซึ่งเสีย cess ให้ผู้บริหารดำเนินการรักษาเสถียรภาพราคายาง
อัจฉรา วิเศษศรีจ.ระยอง